ข้อดีและข้อเสียของไม้หน้าใหญ่ oversized

ไม้เทนนิสแบบ Oversized ได้รับความนิยมในนักเล่นเมื่อปลายปี 1990s จนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับในหมู่นักเล่นว่าเป็นไม้ที่เหมาะสมกับผู้เล่นมือใหม่หรือผู้เริ่มต้นเล่นเทนนิส

ปัจจุบันมีไม้เทนนิส 3 ขนาดคือ midsize , midplus, และ oversize โดยไม้หน้า midsize racquets จะมีขนาด 90-95 square inches, ไม้ midplus racquetsใหญ่ขึ้นมาอีกนิด 95-105 square inches, และไม้ oversized ทุกชนิดที่ใหญ่กว่า 105 square inches ครับ

ข้อดีของไม้หน้าใหญ่คือขนาดของหน้าไม้ที่ใหญ่ เป็นจุดรวมศูนย์กลางของพลัง สามารถสร้างพลังในการกระทบลูกที่แรง โดยเฉพาะลูกตี ground strokes. ไม้ oversized racquet จะมีขนาดพื้นที่หน้าไม้ที่กว้าง จึงมีจุดกระทบหรือ sweet spot ที่กว้างกว่าไม้หน้ากลางและเล็ก ทำให้ลดความผิดพลาดในการตีโดยเฉพาะมือใหม่หรือผู้หัดเล่น นอกจากนั้นการหมุนหรือการสปินของลูกก็จะมีมากกว่าและทำได้ง่ายกว่าไม้หน้าเล็ก

ข้อเสียของไม้หน้าใหญ่คือ โดยทั่วไปแล้วการมีหน้าไม้ที่กว้างทำให้การตีบอลยากในการควบคุมทิศทาง สำหรับผู้เล่นมือใหม่หรือมือสมัครเล่นแล้ว การควบคุมบอลอาจจะไม่สำคัญเท่ากับผู้เล่นที่เล่นแบบแข่งขันหรือนักกีฬา ซึ่งการควบคุมบอลเป็นสิ่งสำคัญมากในการแข่งขันและชัยชนะ ยิ่งการขึ้นมาเล่นลูกวอลเล่ย์ที่หน้าเน็ตจะทำให้ขาดความคล่องตัวกว่าไม้หน้าเล็กมาก แม้ว่าไม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาไปมากก็ตาม รวมทั้งผู้เล่นที่ตีแบ็กแฮนด์มือเดียว จะพบว่าการเหวี่ยงไม้ในการตีทำได้ลำบากกว่าไม้หน้าเล็ก

ในการเล่นไม่ว่าผู้เล่นจะได้ประโยชน์จากไม้แบบ oversized หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและรูปแบบการเล่นของแต่ละคนเป็นสำคัญ ผู้เล่นที่ชอบตั้งรับหรือตีโต้ท้ายคอร์ต อาจจะชอบไม้หน้าใหญ่ในการพัฒนาเกมส์การเล่นของตนเอง ขณะที่ผู้เล่นแบบ เสิฟและขึ้นวอลเล่ย์หน้าเน็ต อาจจะพบว่าไม้หน้าใหญ่ดูไม่คล่องตัวและเหมาะสมกับการเล่นมากนัก เป็นต้น

สำหรับข้อแตกต่างสามารถสังเกตุได้จาก 2 นักเทนนิสระดับโลกในช่วงปี 1990s, ผู้ชนะเลิศ grand slam champion 14 รายการอย่าง Pete Sampras และแชมป์ grand slam 8 ครั้งอย่าง Andre Agassi. ซึ่งมีผลการแข่งขันที่น่าสนใจคือ Sampras ชนะ 20 ใน 34 การแข่งขันที่พบกับ Agassi.

โดยผู้เล่นอย่าง อังเดร อากัสซี ใช้ไม้แบบ oversized frame, ที่ขนาด 107 square inches. จัดเป็นสุดยอดของผู้เล่นท้ายคอร์ตในประวัติศาสตร์ของกีฬาเทนนิส โดยจะเข้าตีบอลแบบไรซิ่ง , การเงื้อไม้ที่สั้นๆ ทั้งสองด้านในการตี อาศัยหน้าไม้ขนาดใหญ่ แรงสะท้อนพิเศษช่วยให้การตีบอลแบบไรซิ่งบอลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรุนแรงแม้ว่าจะเงื้อไม้สั้นๆ ก็ตาม โดยเฉพาะการตีแบ็กแฮนด์สองมือของเขา ถือว่าสุดยอดในเกมส์เลยก็ว่าได้ ความสามารถในการเปลี่ยนทางบอลทั้งทางตรงและครอสทำได้อย่างยอดเยี่ยม

ดังนั้นอากัสซีเป็นที่รู้จักกันในสุดยอดของผู้เล่นท้ายคอร์ต มากกว่าการขึ้นเล่นหน้าเน็ต ไม้หน้าใหญ่จึงเป็นไม้ที่เหมาะกับรูปแบบการเล่นของเขา หากถูกบังคับให้ขึ้นมาเล่นหน้าเน็ต เขาก็จะพยายามจบคะแนนให้ได้เร็วที่สุด โดยการยิงวอลเลย์เสี่ยงไปที่มุมใดมุมหนึ่งอย่างรวดเร็ว

โดยอากัสซีจะอาศัยลูกเสิฟทีดีในการวางบอลเพื่อให้คู่ต่อสู้รีเทินกลับมาในตำแหน่งที่เขาสามารถคุมพื้นที่ในการยิงลูกวินเนอร์ที่หนักหน่วงและแม่นยำทั้ง FH/BH

รูปแบบการเล่นของตำนานอีกคนกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง พีท แซมพราส ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เล่นท้ายคอรตทีดีคนหนึ่ง แต่เขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสุดยอดผู้เล่นที่เสิฟและขึ้นวอลเลย์หน้าเน็ตได้ดีที่สุด เขาใช้ไม้หน้าเล็กขนาดหน้าไม้ 85 square inches ปัจจุบันหน้าเล็กที่สุดคือ 90 square inches (หน้าไม้ปัจจุบันที่ Roger Federer ใช้งานอยู่).

ผู้เล่นอย่างพีท ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดการเสิฟที่ไม่น่าเชือ รวมทั้งการวอลเลย์และการยิงโฟรแฮนด์ ด้วยไม้หน้าเล็กดังกล่าว การตีแบกแฮนด์มือเดียวของเขา ทำได้อย่างยอดเยี่ยม และเชือถือได้เสมอ ด้วยความที่ไม่อยากต่อกรกับการตีโต้ท้ายคอร์ตกับอากัสซี เขาจึงอาศัยการยิงลูก FH ที่แม่นยำและตามขึ้นหน้าเน็ตเพื่อจบคะแนนนั้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการ volley.

ด้วยขนาดของหน้าไม้ที่เล้ก ช่วยให้การตีแบ็กแฮนด์มือเดียวของเขา เป็นไปอย่างราบรื่น การควบคุมบอลได้อย่างเหลือเชือรวมทั้งการขึ้นวอลเล่ย์หน้าเน็ตที่แม่นยำ รวมทั้งพลังในการเสิฟและแม่นยำ

ภาพรวมจะเห็นว่า ไม้หน้าใหญ่ได้รับความนิยมในนักเล่นอย่าง อากัสซีและไมเคิล ซาง ในช่วงปี 1990s.และในการเล่นคู่เนื่องจากพลังในการตีและลูกสปินนั้นเอง ขณะที่ไม้หน้าเล็กจะเน้นที่ความแม่นยำและการควบคุมลูกเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเล่นของเราเป็นสำคัญ ไม้หน้าใหญ่เหมาะสำหรับผู้เล่นท้ายคอรต์ที่ตีแบ็กแฮนด์สองมือ แต่ผู้เล่นแบบหน้าเน็ตหรือแบบ เสิฟ-วอลเลย์ อาจจะชอบไม้หน้ากลางหรือหน้าเล็กที่มีประสิทธิภาพและความคล่องตัวมากกว่านั้นเอง หรือผู้เล่นบางคนอาจจะชอบทั้งสองแบบผสมผสานกัน ก็อาจจะเลือกไม้หน้ากลางหรือ midplus frameซึ่งจะได้ทั้งพลังในการตี ลูกสปิน และการควบคุมบอลนั้นเอง

หากจะมองในมุมของงบประมาณแล้ว แน่นอนว่าไม้แบบ oversize racquets ต้องการการขึ้นเอ็นที่มากกว่าไม้หน้ากลางและเล็กตามลำดับ ในระยะยาวแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายในการขึ้นเอ็นหรือเปลี่ยนเอ็นมากกว่าครับ

สรุป , อย่าสนใจข้อความและการสาธิต ที่ไม้เทนนิสแบบต่างๆ นำเสนอต่อคุณ แต่จงเล่นและใช้ไม้ที่เราเล่นแล้วเหมาะกับตัวเรามากที่สุด และเข้ากับรูปแบบการเล่นของเรามากที่สุด
ที่มา http://www.helium.com/items/1043897-pros-and-cons-of-oversized-tennis-racquets

Comments

Popular posts from this blog

การเลือกไม้เทนนิสสำหรับเด็ก

พีทีที จูเนียร์แชมเปี้ยนชิพส์ ภาคกลาง 2011